สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 บนที่ดินของ บขส.จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา โดยสถานีขนส่งเอกมัยแห่งนี้ ตั้งอยู่บน ถนนสุขุมวิท แยกเอกมัย (ปากซอยสุขุมวิท 63) ซึ่งเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่มีการย้ายสถานีขนส่ง และตั้งอยู่ภายในตัวเมือง
เป็นอาคารเดี่ยว ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารจะอยู่ด้านหน้าของสถานีขนส่ง มีทางเดินไปชานชาลาด้านหลัง โดยชานชาลาแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศขั้น 1 และอีกด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศชั้น 2
35 กรุงเทพฯ - ระยอง (ข)
36 กรุงเทพฯ - สัตหีบ (ข)
37 กรุงเทพฯ - ศรีราชา (ข)
38 กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข)
39 กรุงเทพฯ - บางคล้า (ข)
40 กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา (ข)
41 กรุงเทพฯ - ตราด (ก)
42 กรุงเทพฯ - จันทบุรี (ก)
43 กรุงเทพฯ - แกลง
44 กรุงเทพฯ - ประแสร์
45 กรุงเทพฯ - บ้านค่าย
46 กรุงเทพฯ - ระยอง (ก)
48 กรุงเทพฯ - พัทยา
49 กรุงเทพฯ - บางแสน
50 กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ก)
51 กรุงเทพฯ - บ้านบึง
52 กรุงเทพฯ - พนัสนิคม
53 กรุงเทพฯ - คลองด่าน - ฉะเชิงเทรา (ก)
55 กรุงเทพฯ - คลองด่าน - บางคล้า (ก)
56 กรุงเทพฯ - พนมสารคาม
914 กรุงเทพฯ - จันทบุรี (ค)
915 กรุงเทพฯ - บ้านค่าย - แหลมแม่พิมพ์
916 กรุงเทพฯ - แกลง - สามย่าน
917 กรุงเทพฯ - ตราด (ค)
969 กรุงเทพฯ - แกลง - ประแสร์
970 กรุงเทพฯ - แหลมฉบัง
9916 กรุงเทพฯ(เอกมัย) - เขาหินซ้อน - ตลาดโรงเกลือ
หลังการเปิดตัวของโครงการ แบงค็อก มอลล์ บริษัท ขนส่ง จำกัด มีแผนก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออกแห่งใหม่ภายในโครงการนี้ โดยเป็นการขอใช้พื้นที่บางส่วนในโครงการจำนวน 5 ไร่ จากที่กลุ่มเดอะมอลล์เป็นเจ้าของที่อยู่ 100 ไร่ มาพัฒนาเป็นชานชาลาสำหรับจอดรถรับส่ง และจะพัฒนาศูนย์บริการลูกค้าภายในอาคารศูนย์การค้า จากจุดประสงค์นี้จะทำให้เดอะมอลล์ได้ลูกค้าเข้าโครงการเพิ่มอีก 10,000 รายต่อวัน เพราะปัจจุบันมีรถเข้า-ออกกว่า 2,000 เที่ยว และมีจำนวนผู้โดยสารต่อวันอยู่ที่ 10,000 รายต่อวัน[ต้องการอ้างอิง]
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ_(เอกมัย)